ทดสอบปลายภาค
1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง
วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
แท็บแล็ต
เป็นเครื่องมือด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่สำคัญในปัจจุบันอย่างมากเพราะเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษา
ในส่วนของการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการศึกษานั้น
ในมุมมองของข้าพเจ้านั้นคิดว่า เป็นสิ่งที่ดี และเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ก้าวเข้าสู่โลกที่กว้างขึ้น
ซึ่งเราก็พอรู้มาบ้างแล้วว่าประโยชน์ของแท็บแล็ตนั้นมีมากมาย เช่น สามารถใช้แทนตำราเรียน ใช้บันทึกการเรียนการสอน สามารถเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายได้ ใช้แทนสื่อการสอนได้ สามารถสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตได้ เป็นต้น และการพกพาก็สะดวกมาก
แต่ในทางกลับกันหากเด็กไม่ได้รับการการดูแลกำกับการใช้ก็อาจจะทำให้มีผลเสียต่อสุขภาพได้ หากใช้เพลินจนไม่กิน ไม่นอน นิ้ว คอเคล็ด ไม่อยากวิ่งเล่น ไม่อยากเขียนหนังสือ
หรือทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ที่สำคัญอาจเกิดโรคติดแท็บแล็ต และฉันคิดสำหรับทำให้แท็บแล็ตมามีบทบาทมากกับเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่
1 นั้น อาจมีผลเสียกับเด็กเยอะ
เพราะครูเองก็ยังไม่มีความรู้และเชี่ยวชาญพอ ส่วนเด็กก็ยังไม่สามารถแยกแยะ วางแผน
และจัดสรรเวลาที่เหมาะสมให้แก่ตนเองได้
และในส่วนของเด็กที่อยู่ต่างจังหวัดก็ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 บางโรงเรียนยังอ่าน และเขียน ก – ฮ ไม่ถูกเลย
จริงอยู่ว่าเทคโนโลยีที่เข้ามานั้นเราไม่อาจปฏิเสธได้ แต่เราสามารถควบคุมได้ ให้เกิดการเรียนรู้แบบค่อยเป็นค่อยไป
ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียน้อยที่สุด
ทั้งนี้ทั้งนั้น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และครูจะต้องให้เวลา และให้ความสำคัญกับเด็กมากขึ้น
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย
3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า
"สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน
การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
การเตรียมความพร้อมกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของ
ประเทศสมาชิกทั้ง10 ประเทศ ประกฎว่า สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย ติดสามอันดับแรก
ส่วนประเทศไทยติดอยู่ในสามอันดับสุดท้าย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์มีการเตรียมความพร้อมมาเป็นเวลานานพอสมควรโดยได้วางรากฐานเกี่ยวกับการศึกษาที่เป็นระบบ
โดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน ส่วนบรูไนและอินโดนีเซีย
ได้เปรียบเรามากเพราะใช้ภาษา มาเลย์ ( Bahasa, มาลายูกลาง)
ในชีวิตประจำวันและราชการด้วย และที่สำคัญตอนนี้ พม่าเริ่มเปิดประเทศแล้ว แต่สำหรับการตื่นตัวของคนไทยในระดับต่างๆในช่วงที่ผ่านมาเกี่ยวกับอาเซียนมีค่อนข้าง
น้อยมาก ถ้าเทียบกับประเทศสมาชิกอื่นๆ คนไทยจะมาตื่นตัวกันอย่างจริงจังก็ช่วงหลังๆนี้
ทั้งๆที่ความเป็นจริงไทยควรจะมีบทบาทนำและมีความพร้อมอยู่ระดับแนวหน้า
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
อ้างอิงจากบทความของ ผศ.ดร.สมาน คำฟู ที่ท่านได้พูดถึงครูกับภาวะผู้นำ
ซี่งท่านได้พูดไว้เกี่ยวกับคุณลักษณะทั่วไปของครูที่ดีควรเป็นอย่างไร ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำพูดและคำกล่าวของท่าน
เหมือนที่เรารู้กันอยู่แล้วว่าครูคือแม่พิมพ์ของชาติ
ครูคือผู้ที่จะให้ความรู้ คอยสอนและ ขัดเกลานักเรียน ให้มีความรู้
เพราะเด็กและเยาวชน ถือว่าเป็นอนาคตของชาติ ถ้าหากเราพูดว่าครูคือแบบอย่าง ครูคือแม่แบบแล้ว
ฉะนั้นสิ่งต่างๆ พฤติกรรมต่างๆ หรือแม้กระทั่งคำพูดของครู
จะมีอิทธิพลต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก
ถ้าหากแบบหรือพฤติกรรมที่ครูแสดงออกมานั้นเป็นไปในทางบวก
นั่นอาจจะเป็นแรงกระตุ้น หรือเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนได้ จะทำให้นักเรียนเกิดความศรัทธา เชื่อใจ เคารพ
ในตัวครูคนนั้น
และบางครั้งอาจเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนได้ด้วย แต่ในทางตรงกันข้าม
ถ้าหากสิ่งที่ครูแสดงออกมานั้นเป็นไปในทางลบ
สิ่งเหล่านั้นก็จะมีอิทธิพลกับเด็กในทางลบได้เหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น หากครูมีจิตวิณญาณของความเป็นครู
ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ ทำงานด้วยความรักในอาชีพครู
ไม่ใช่เพราะหน้าที่หรือแค่เพราะเงินเดือน
ผลที่สะท้อนออกมาให้เห็นมันก็จะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดกับครูที่ทำงานแค่หน้าที่ครู
แต่ไม่ได้รักและไม่ได้มีจตวิญญาณของความเป็นครู
เพราะฉะนั้นกับประโยคของท่านที่ว่า "การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครูนักเรียน(นักศึกษา)และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"
ครูต้องเตรียมความพร้อมและต้องแสดงออกให้นักเรียน
หรือแม้กระทั่งเพื่อนครูด้วยกันเห็นว่า ตนเองมีคุณสมบัติที่ดีและสามารถเป็นแม่พิมพ์ที่ดีของชาติได้ การจะสร้างเยาวชนที่ดี
หากแม่พิมพ์ไม่ดีแล้วไซร้ ไฉนเลย ผลผลิตจะออกมาดี
4.ให้นักศึกษา
แสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร
แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร
ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้
นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
สำหรับการเรียนการสอนโดยใช้บล็อกนั้นวิชานี้เป็นวิชาแรกที่ฉันได้เรียน และเป็นครั้งแรกด้วยที่ฉันได้ทำบล็อกเป็น นับว่าฉันโชคดีมากที่ได้เรียนกับอาจารย์เพราะมีรุ่นพี่ในหลักสูตรอิจฉาด้วยที่ฉันได้เรียนบล็อกกับอาจารย์ ซึ่งการใช้บล็อกในการเรียนการสอนนั้นมีประโยชน์ในการทำงานมาก งานนั้นไม่ได้หายไปไหน และสะดวกในการทำ เพราะงานบางชิ้นฉันแก้ไขเป็น 5-6 ครั้ง ซึ่งถ้าเป็นงานที่ใช้กระดาษฉันคงต้องเปลืองเงินในการปริ้นงานไม่ใช่น้อย และนับว่าอาจารย์เป็นผู้ที่มองการไกลมาก เพราะต่อไป ฉันคิดว่าบล็อกต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการเรียนการสอน อาจารย์ก็เลยสอนวิชานี้ด้วยการใช้บล็อก และการทำงานนั้นไม่เครียดด้วยเพราะเรามีการใส่ปฏิทิน นาฬิกาที่น่ารักๆ และที่สำคัญมีภาพสไลด์ไว้ดูเล่นด้วยขณะที่ทำงาน และถ้าอนาคตมีการเรียนรู้โดยใช้บล็อก ฉันคิดว่าคงดีมาก และสะดวกสบาย และการใช้บล็อกมีประโยชน์ทั้งตัวเราเองและผู้อื่น เพราะเราสามารถลิงค์หากันได้ด้วย สำหรับการให้คะแนนวิชานี้ จะให้ที่ระดับดีมาก เพราะเป็นการเรียนรู้ที่แปลกใหม่สำหรับฉันและได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ด้วยบล็อกมากมาย และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและยังสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตอีกด้วย
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
สำหรับการเรียนการสอนโดยใช้บล็อกนั้นวิชานี้เป็นวิชาแรกที่ฉันได้เรียน และเป็นครั้งแรกด้วยที่ฉันได้ทำบล็อกเป็น นับว่าฉันโชคดีมากที่ได้เรียนกับอาจารย์เพราะมีรุ่นพี่ในหลักสูตรอิจฉาด้วยที่ฉันได้เรียนบล็อกกับอาจารย์ ซึ่งการใช้บล็อกในการเรียนการสอนนั้นมีประโยชน์ในการทำงานมาก งานนั้นไม่ได้หายไปไหน และสะดวกในการทำ เพราะงานบางชิ้นฉันแก้ไขเป็น 5-6 ครั้ง ซึ่งถ้าเป็นงานที่ใช้กระดาษฉันคงต้องเปลืองเงินในการปริ้นงานไม่ใช่น้อย และนับว่าอาจารย์เป็นผู้ที่มองการไกลมาก เพราะต่อไป ฉันคิดว่าบล็อกต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการเรียนการสอน อาจารย์ก็เลยสอนวิชานี้ด้วยการใช้บล็อก และการทำงานนั้นไม่เครียดด้วยเพราะเรามีการใส่ปฏิทิน นาฬิกาที่น่ารักๆ และที่สำคัญมีภาพสไลด์ไว้ดูเล่นด้วยขณะที่ทำงาน และถ้าอนาคตมีการเรียนรู้โดยใช้บล็อก ฉันคิดว่าคงดีมาก และสะดวกสบาย และการใช้บล็อกมีประโยชน์ทั้งตัวเราเองและผู้อื่น เพราะเราสามารถลิงค์หากันได้ด้วย สำหรับการให้คะแนนวิชานี้ จะให้ที่ระดับดีมาก เพราะเป็นการเรียนรู้ที่แปลกใหม่สำหรับฉันและได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ด้วยบล็อกมากมาย และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและยังสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตอีกด้วย
และถ้าถามว่า
อยากได้เกรดอะไร ฉันอยากได้เกรด A เพราะงานแต่ชิ้น ฉันตั้งใจทำมาก และก็ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด บางชิ้นงานก็
แก้ไขถึง 5-6 ครั้ง
และหากทำงานในส่วนไหนไม่ได้ก็จะพยายามทำหลายๆครั้ง
ถ้าไม่ได้อีกก็จะค้นเอกสารที่มีอยู่จากที่เคยเรียนผ่านมา
หากไม่ได้อีกก็จะถามเพื่อนๆ หรือไม่ก็จะถามรุ่นพี่ ในเรื่องที่ยังทำไม่ได้ การเข้าเรียนนั้นฉันหยุดเรียน
1 วัน คือ วันฮารีรายอ เพราะต้องไปเยี่ยมญาติ และเยี่ยมสุสานกับครอบครัว
แต่สำหรับวันอื่นๆ เข้าเรียนตามปกติ
แต่ฉันก็ทำงานตามที่อาจารย์ในวันนั้นโดยถามจากเพื่อนๆ
การส่งงานครั้งแรกนั้นฉันส่งงานตรงเวลาทุกครั้ง แต่สำหรับงานบางชิ้นนั้นเมื่อฉันแก้ไขมันเกิดการผิดพลาด
ฉันเลยต้องสร้างบทความใหม่แล้วใส่งานลงไปใหม่
เลยอาจเหมือนกับเพิ่งทำงาน ซึ่งสำหรับการทำงานนั้นมีอุปสรรคอยู่อย่างเดียว
คือ สัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งที่หอนั้นเข้าไม่ได้
และหากลงไปทำงานในบริเวณของมหาวิทยาลัยก็ต้องเข้าหอก่อน 3
ทุ่มครึ่ง เพราะยามไปปิดไฟ และงานที่ทำไปนั้นฉันทำด้วยตนเองทุกชิ้น
และสิ่งที่อธิบายไปนั้น เป็นความคิดของฉันจริงๆ
ฉันดีใจที่ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างจากการทำบล็อกในการเรียนวิชานี้ แม้บางครั้งจะมีอุปสรรคในการทำงานบ้างก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น