วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
       บทความที่ 1 การสอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
การสอนแนะให้รู้คิด  เป็นนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน   เป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเกี่ยวกับองค์ความรู้และทักษะในการแก้ปัญหา  การเรียนการสอนเกิดจากความรู้ของผู้เรียนและเน้นการคิดการแก้ปัญหาด้วยตัวของผู้เรียน
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการสอนแนะให้รู้คิด  ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญานิยม   ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำหรือเป็นผู้ที่ริเริ่มและกระตือรือร้น   เรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้  หรือการเรียนรู้จากการค้นพบ  ซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การสอนแนะให้รู้คิดมีหลักการและรูปแบบ  คือ
1.นักเรียนแต่ละคนจะต้องรู้
2.สามารถพัฒนาแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนได้
3.ต้องมีกิจกรรมในใจในการเรียนคณิตศาสตร์
การสอนแนะให้รู้คิดเป็นแนวการสอนรูปแบบหนึ่งที่สอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษาระดับชาติที่เน้นความสำคัญด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ และคุณธรรม  เน้นการฝึกทักษะการคิดของผู้เรียน ผู้สอนต้องสอดแทรกทักษะและกระบวนการต่างๆ เข้าไปในการจัดการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนฝึกการคิดและสามารถให้เหตุผลประกอบได้รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาเข้ากับชีวิตจริง เห็นความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับชีวิตจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ในการจัดการเรียนการสอนจะต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  จะต้องเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  ครูมีหน้าที่ที่จะเป็นคนชี้แนะหรือสร้างกระบวนการแล้วให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ  คอยให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ  และเมื่อผู้เรียนได้ข้อสรุปแล้ว ให้อภิปรายร่วมกัน
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ในการเรียนการสอนครูจะมีการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เพลง เหตุการณ์   แล้วแต่ความเหมาะสมของเนื้อหา  หลังจากนั้นก็อาจจะมีกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติโดยครูเป็นเพียงผู้ดำเนินการ  คอยชี้แนะ และให้ความช่วยเหลือที่มีผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติ  เมื่อเสร็จกระบวนการแล้วจึงให้ผู้เรียนอภิปรายร่วมกันแล้วครูก็สรุปให้ฟังอีกครั้ง
 



1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูของแผ่นดิน  เราจะเห็นว่าท่านมีโครงการมากมายในการพัฒนาประเทศ   ท่านได้ทำในสิ่งที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้และมีคุณค่ามากมาย เช่น โครงการแก้มลิง เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นต้น  ซึ่งเราจะเห็นว่าการที่พระองค์ได้เสด็จไปที่ไหนแล้วที่นั่นก็จะมีการพัฒนา พระองค์ท่านพัฒนาผืนแผ่นดินของเราอยู่ตลอดเวลา
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
                การเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติจริง  และความรู้นั้นมีอยู่รอบตัวเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต  ทุกที่ ทุกเวลา ในฐานะครูนั้นจะต้องรู้จริงและมีความรู้ที่กว้างขวางเพื่อจะนำมาถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้ทราบ  สมควรอย่างยิ่งที่เราจะต้องแสวงหาความรู้อยู่ตลอด  เนื่องจากการศึกษานั้นสำคัญต่อความเจริญของประเทศ
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ในการเรียนการสอนครูจะต้องเป็นผู้ชี้แนะปัญหา  แล้วให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  พร้อมทั้งควรสอดแทรกคุณธรรมเข้าไปด้วย
               

1. สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน
            สอนเรื่อง    การหาพื้นที่รูปเรขาคณิต  2 มิติ 
            ผู้สอนรศ.ประพนธ์   จ่ายเจริญ   
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
            เนื้อหาที่ใช้สอน  การหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม  และรูปหลายเลี่ยม  เป็นการสอนที่มาของสูตรการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปสามเหลี่ยม  ซึ่งอาจารย์ผู้สอนคิดว่า  การหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิตนั้นจำเป็นจะต้องจำสูตรให้ได้  แต่สูตรที่สำคัญมีแค่เพียง 3 สูตรที่นักเรียนสามารถนำไปหาพื้นที่รูปหลายเหลี่ยมอื่นๆได้ และการที่นักเรียนจำสูตรได้ แต่ไม่รู้ที่มาของสูตรก็ไม่มีความหมายอะไร อาจารย์จึงเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้และเข้าใจที่มาของสูตรการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปสามเหลี่ยม
3. จัดกิจกรรมการสอน
            การจัดกิจกรรม    เป็นการจัดกิจกรรม โดยอาจารย์ได้นำเสนอตารางในกระดาษให้กับนักเรียนซึ่งเป็นสื่อการสอนในห้องเรียน แล้วให้นักเรียนยกตัวอย่างสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่พบเห็น  จากนั้นจึงพานักเรียนไปเรียนรู้จากสิ่งของที่นักเรียนบอก  เพราะอาจารย์คิดว่า  สิ่งของเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เด็กต้องพบเจอในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว จึงเป็นทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น  หลังจากนั้นจึงพานักเรียนกลับเข้าห้อง แล้วใช้สื่อที่เป็นตารางอีกครั้งหนึ่ง  แล้วจึงให้นักเรียนได้สรุปกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำนอกห้องเรียน  และสรุปความรู้ที่ได้เรียนรู้ในคาบนั้นแล้วฝึกทำแบบหัดที่อาจารย์ให้
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
            บรรยากาศการจัดห้องเรียน   เป็นห้องเรียนที่มีแสงสว่างเพียงพอ  การจัดโต๊ะของนักเรียนมีช่องว่างให้ครูเดินได้สะดวก   และหากมีการทำงานกลุ่มก็สามารถเข้ากลุ่มได้อย่างรวดเร็ว  สำหรับบรรยากาศการเรียนก็เป็นกันเอง  ทำให้เด็กกล้าพูด  กล้าตอบคำถาม กล้าแสดงความคิดเห็น  การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นได้รวดเร็ว

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 6


กิจกรรมที่ 5  ครูที่นักศึกษาชอบ

ชื่อครู    นายสุชาติ  หัวนเหล็ม 
ประวัติการศึกษา 
 ระดับประถมศึกษา   ร.ร.วัดสระประดิษฐ์ อ.ท่าศาลา  จ.นครศรีธรรมราช
 ระดับมัธยมศึกษา    ร.ร.ท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา  อ.ท่าศาลา  จ.นครศรีธรรมราช
ระดับปกศ.สูง         วิทยาลัยพลศึกษา  จังหวัดกระบี่
ระดับปริญญาตรี    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  วิชาเอก พลศึกษา   วิชาโท สุขศึกษา
ประวัติการทำงาน
           โรงเรียนสุเหร่าใหม่  แขวงสวนหลวง  เขตพระโขนง  กรุงเทพฯ
             โรงเรียนบ้านทุ่งชน  ต.หัวตะพาน   อ.ท่าศาลา     จ.นครศรีธรรมราช
โรงเรียนวัดยางทอง  ต.ท่าศาลา  อ.ท่าศาลา    จ.นครศรีธรรมราช
ตำแหน่งปัจจุบัน 
ครูชำนาญการ    โรงเรียนวัดยางทอง      อำเภอท่าศาลา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
ผลงานของครูที่นักเรียนชอบ
             รางวัลครูดีศรีจรรยาบรรณ
            รางวัลหนึ่งแสนครูดี
           รางวัลหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม
การประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้
ครูต้องพูดคุยกับเด็กด้วยน้ำเสียงสุภาพนุ่มนวล  และจะต้องคอยซักถามเรื่องราวต่าง ๆ ทั่ว ๆ ไป  เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยและเพื่อทำให้เด็กรู้สึกว่าคุณครูเป็นเสมือนครอบครัว  เด็กจะได้กล้าพูด  กล้าถามปัญหาต่าง ๆ  แต่จะต้องให้เด็กมีความเกรงใจและควรมีข้อตกลงกันไว้ในห้องเรียน  และควรมีบทลงโทษที่ชัดเจนสำหรับคนที่ฝ่าฝืน
                สำหรับบรรยากาศในห้องเรียน  ควรให้เด็กช่วยกันจัดป้ายนิเทศ  ติดผลงานของเด็ก  เพื่อทำให้เด็กเกิดความคิดที่ว่า  จะต้องทำให้ดีกว่านี้  และสำหรับการทดสอบในแต่ละครั้งควรมีของรางวัลเด็กเล็ก ๆ น้อย เพื่อสร้างกำลังใจให้แก่เด็ก  และเพื่อเป็นแรงจูงใจให้เด็กตั้งใจอ่านหนังสือ  และในบางครั้งควรมีเรื่องเล่าที่สนุกสนาน  หรือเหตุการณ์ปัจจุบันที่เด่น ๆ หรือมีข้อคิดมาให้เด็ก ๆ ฟังเสมอ  และสำหรับวิธีการสอนถ้าหากมีเกมที่สอดคล้องกับเนื้อหาก็ควรที่จะนำเกมมาใช้เป็นสื่อด้วย  ทั้งนี้ทั้งนั้นหากผู้สอนมีกฎเกณฑ์หรือกติกาแล้วผู้สอนควรจะปฏิบัติตามหรือกติกานั้นด้วย  และผู้สอนจะต้องวางตนให้เด็กเกรงใจ  น่าเชื่อถือ  และไว้วางใจได้