กิจกรรมที่ 2 ทฤษฎีการบริหารการศึกษา
มาสโลว์ เป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ลำดับ ซึ่งเป็นแรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ จะเป็นพฤติกรรมของคนเราเพื่อตอบสนองความพอใจ มี 5 ขั้น คือ1.ความต้องการทางกายภาพ คือ ความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2.ความต้องการความปลอดภัย คือ ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม คือ ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง คือ ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ บุคคลที่มีความต้องการประเภทนี้จะเป็นผู้ที่มีความมั่นใจในตนเอง
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต คือ ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์ รู้จักค่านิยม
Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y เป็นทฤษฎีการมองต่างมุม คือทุกคนไม่มีใครจะร้ายอย่างบริสุทธิ์
คือไม่มีข้อดีเลย และในทางกลับกัน
ก็คงไม่มีใครที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีข้อเสียเลย
-ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
-ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็น
ปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ
มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
William Ouchi : ทฤษฎี Z เ ป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า
การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล
ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต
ทฤษฎี J เป็นการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการตัดสินที่ต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุม ซึ่งเป็นผลดี แต่ผลเสีย คือ อาจเกิดความล่าช้า
Max Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic Management) แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม
Luther Gulick : POSDCORB Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ
Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory) ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg) เฮิร์ซเบอร์ก
ได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน
เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน
และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง (the one best way to do work) การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน (Motion Study)ผังกระบวนการทำงาน (Work Flow Process Chart)
การบริหารการศึกษา
บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
การบ
ริหาร
เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นการจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆของรัฐ
ส่วนการบริหารของรัฐ คือ การบริหารหรือการจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีระเบียบ
สำหรับความสำคัญของการบริหารนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขและรู้จักพัฒนาตนเอง
การบริหารการศึกษา หมายถึง
กิจกรรมต่างๆ
ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ
เพื่อพัฒนาสมาชิกสังคมในทุกๆด้าน การบริหารถือเป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะต้องได้รับการอบรมมากพอถึงจะเป็นนักบริหารได้ และจะเป็นผู้บริหารที่ดีได้จะต้องมีความสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์อย่างมีศิลปะ
บทที่ 2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ เริ่มจากยึดโครงสร้างการบริหารในรูปองค์การรูปนัย แล้วหันมาเน้นพฤติกรรมองค์การและเรื่องของมนุษยสัมพันธ์ หลังจากนั้นจึงมาใช้ร่วมกัน ส่วนวิวัฒนาการด้านธุรกิจในระบบมีการใช้วิธีฝึกจากการทำงานการจัดการ
เป็นสาขาที่สำคัญ นอกจากการใช้ “ระเบียบวินัยในการทำงาน”
การบริหารด้านธุรกิจมีการวางกฎเกณฑ์
ระเบียบปฏิบัติวัตถุประสงค์และการรวมพลังของกลุ่ม
ดังนั้นปรัชญาของการบริหารธุรกิจจึงมุ่งแสวงหากำไรมากกว่าอย่างอื่น
ผลประโยชน์นายทุนเป็นเป้าหมายสำคัญในการแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
จะแบ่งได้ดังนี้ในยุคที่
1 นัก
ทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม จะจัดการงานซึ่งได้ปฏิบัติ
โดยอาศัยหลักควบคุมทางวินัย
ส่วนการประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษาจะมี
ความสับสนมาก
การต่อรองการแสดงความไม่พอใจของพนักงานในเรื่องอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารมี
อยู่เสมอ ทฤษฎีสมัยเดิมเริ่มไม่สู้เหมาะสม
ผู้บริหารจะคำนึงการใช้อำนาจอย่างที่เคยได้รับความเชื่อถือก็ย่อมต้อง
เปลี่ยนแปลง
ใน ยุคที่2 ยุค Human
Relation Era ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ความรู้ความชำนาญของผู้
บริหาร คือ ผู้บริหารต้องมีความรู้ ความฉลาด
และมีประสบการณ์เพื่อมาเป็นผู้นำหือหังฃวหน้ากลุ่ม
ส่วนการประยุต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษาเราสามารถนำหลัก
มนุษยสัมพันธ์มาใช้ในการบริหารการศึกษา
ส่วนในยุคที่3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ
เป็นการจัดองค์การที่เป็นทางการจึงให้ทฤษฎีองค์การและยึดตามแนวมนุษย
สัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล มุ่งด้านระบบขององค์การ
และสนใจจะพูดถึงพฤติกรรมศาสตร์
บทที่ 3
งานบริหารการศึกษา
การ
บริหารการศึกษาจะไม่แตกต่างกับการบริหารงานทั่วไป คือ
สามารถนำหลักการของของการบริหารทั่วไปมาใช้กับการบริหารศึกษาได้
องค์ประกอบทางส่วนบุคคลในการบริหารการศึกษา ประกอบด้วย เจตคติ
ความสามารถและคุณลักษณะทางสังคมจิตวิทยาของบุคลากรทางการศึกษา
และองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคม
ลักษณะของชุมชน และธรรมชาติของรัฐ
แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถเห็นผลเสียของการบริหารได้ง่าย เพราะจะมีลักษณะเผด็จการโดยการสั่งการสั่งจากเบื้องบน มีคำสั่งให้ครูปฏิบัติและมีข้อห้ามในการกระทำ และมีการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการลงโทษหากผู้ใดฝ่าฝืนและลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้
แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถเห็นผลเสียของการบริหารได้ง่าย เพราะจะมีลักษณะเผด็จการโดยการสั่งการสั่งจากเบื้องบน มีคำสั่งให้ครูปฏิบัติและมีข้อห้ามในการกระทำ และมีการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการลงโทษหากผู้ใดฝ่าฝืนและลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้
1.การผลิต คือ กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน คือ กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี คือ
การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร คือ
การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน คือ เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา
บทที่ 4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การ
บริหารการศึกษาเป็นหน้าที่หนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ
เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน
ที่เรียกว่าการบริหารการศึกษาสิ่งที่ทำให้การบริหารการศึกษา
การบริหารราชการ และการบริหารธุรกิจจะแตกต่างกัน และปรัชญาการศึกษา
ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร
ที่สามารถนำไปเป็นหลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี 2 เรื่อง คือ 1.การจัดระบบสังคม 2.เป้า
หมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา สำหรับหลักการจัดระบบการศึกษา
ไม่ว่าระดับชาติ ระดับท้องถิ่น
ระดับโรงเรียน คือจะต้องรู้จักเด็กทุกคน
โดยยึดหลักความเสมอภาคและเหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียน
และมีการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการปกครองในการบริหารงานในชั้นเรียน
อย่างเท่าเทียมกันโดยกระบวนการบริหารการศึกษา
เป็นความคิดรวบยอดและเป็นการจัดระบบการศึกษา
ให้เป็นไปตามกระบวนการศึกษาของโรงเรียน
องค์การและการจัดองค์การ
องค์การ
ตามแนวคิด หมายถึงส่วนประกอบที่เกิดจากระบบย่อยหลายระบบที่มีปฏิสัมพันธ์
กันภายใต้สิ่งแวดล้อมหรือระบบใหญ่
เราสามารถจำแนกองค์การที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆคือ
1 -องค์การทางสังคม
-
องค์การทางราชการ
-องค์การเอกชน
แนวคิดในการจัดองค์การ
1. แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
2. แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง
“ผู้ปฏิบัติงาน”
3. แนวในการจัดการองค์การ
จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป
ความ
สำคัญของการจัดองค์การเป็นที่รวมของคนและเป็นที่รวมของงานต่างๆ
เพื่อให้พนักงานขององค์การ ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
องค์ประกอบในการจัดองค์การ
1. หน้าที่การงานเป็นภารกิจ
2. การแบ่งงานกันทำ
3.
การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ
ทฤษฎีองค์การ
ความรู้ที่ได้จากทฤษฎีขององค์การอันด้มาจากสังคมวิทยา รัฐศาสตร์
และบางส่วนของจิตวิทยาสังคมกับเศรษฐศาสตร์
ระบบราชการและองค์การทางการศึกษา ให้ความหมายไว้ว่าระบบราชการ หมายถึง
ระบบการบริหารที่มีลักษณรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมาก มีความอิสระในการปฎิบัติงานและเป็นกึ่งทหาร
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร
การ
ติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่ดี
มีความหมายว่ากระบวนการติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคล
โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูลเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้
การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารเพื่อการแลกเปลี่ยน
ความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันและยังมีความสำคัญในการดำเนินการ
ในองศ์การอย่างมาก
ปัจจัยในการติดต่อสื่อสารมี 3 ตัว
คือ สื่อ ช่องทางที่สื่อผ่านและกระบวนการ รูปแบบของการติดต่อสื่อสาร การจัดเตรียม
การสังเกตการณ์ของกระบวนการ การจำแนกปัจจัยผันแปร ชึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำหนดทิศทาง
ช่วยให้ผู้บริหารจับประเด็นปัญหาของการติดต่อสื่อสาร
และช่วยป้องกันความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า
องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสารจะมีผู้ส่งสาร ช่องทาง ข้อมูล ผู้รับสาร การตอบรับ
ส่วนการติดต่อสื่อสารจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสารมีความเข้าใจระหว่างผู้ปฎิบัติงานเพื่อการทำงานไปด้วยดี
ช่วยสร้างทัศนคติเกิดแรงจูงใจ เพื่อเกิดแรงจูงใจ
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ
หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงาน
ในความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ
โดยใช้กระบวนการติดต่อชึ่งกันและกัน หน้าที่ผู้นำเกี่ยวข้องกับ การอำนวย การจูงใจ
การริเริ่ม กำหนดนโยบาย วินิจฉัยสั่งการ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ
มีผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์
ผู้นำกับผู้บริหารจะแตกต่างกันคือผู้นำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
ส่วนผู้บริหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงในหน่วยงาน
ผู้นำจะกลุ่มยกย่องเนื่องจากมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษเหนือบุคคลอื่นเนื่องจากผู้บริหารมีรูปแบบเป็นทางการ
บทที่ 8
การประสานงาน
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน
เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่งๆร่มมือปฎิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน
เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบาย
ความมุ่งหมายในการประสานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
เพื่อจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น
และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน
ภารกิจในการประสานงานที่ดี ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงานคือต้องทราบนโยบาย
แผนงาน งานที่รับผิดชอบ และทรัพยากร
ส่วนหลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสาร ความร่วมมือ การประสานงานและนโยบายที่ดี
และในการประสานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วควรจะมีโครงสร้างที่จัดเป็นระบบแบบแผน
มีแผนภูมิแสดงสายการบังคับ มีการเขียนนโยบาย มีระบบเสนองาน
มีเครื่องมือและระบบสื่อสารที่เพียงพอและเปิดโอกาสให้กับผู้เข้าร่วม
การประสานงานที่ดีจะมีประโยชน์หลายอย่างคือช่วยลดการขัดแย้ง ลดปัญหาที่ซับซ้อน
ทำให้เกิดเอกภาพในการทำงาน ช่วยให้ประหยัดเงิน เวลา
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การ
ตัดสินใจคือการชั่งใจไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อให้การดำเนงานไปสู่เป้าหมายที่
กำหนดไว้
ส่วนการวินิจฉัยสั่งการคือการสั่งงานหรือการพิจารณาตกลงชี้ขาดจากทางเลือก
ที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางขึ้นไป
หลักการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ
บางครั้งตัดสินใจถูกแต่การสั่งงานผิดพลาดอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่งาน
ลักษณะการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารที่ดี
จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้
ระยะเวลาที่เหมาะสม ความแน่นอน ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร
ประสบการณ์ในการทำงาน ทัศนคติ บุคลิกภาพที่มีอิทธิพล ความลำเอียงส่วนบุคคล
ความโดดเดี่ยว ประสบการณ์ การรู้โดยความรู้สึก และการแสวงหาคำแนะนำ
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียน
ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ จะมีหลายด้าน ดังนี้
1.การบริหารงานวิชาการ จะเป็นหัวใจของการบริหารในโรงเรียน
ลักษณะและความสำคัญของงานวิชาการ จึงถือว่างานวิชาการท้าทายผู้บริหารการศึกษา
งานวิชาการจะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และผู้บริหารจะต้องรับรู้
รับผิดชอบ ควบคุมดูแลในการดำเนินการวางแผน
2.การบริหารบุคคล คือการจัดงานเกี่ยวกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส่งเสริมให้กำลังใจผู้ปฎิบัติให้ทำงานอย่างมีปะสิทธิภาพ ความสำคัญของการบริหารบุคคล คือ
คนเป็นผู้บันดาลให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น วัตถุประสงค์
เพื่อสรรหาและเลือกสรรคนดี
มีความรู้ความสามารถมาทำงานให้เกิดผลสูงสุดอยู่กับองศ์การนานๆ
3.การบริการธุรการในโรงเรียน
คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา
ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
ความสำคัญจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นให้เครื่องจักร(งานวิชาการ)
ทำงานได้ดีและเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน
หน้าที่ของผู้บริหารงานธุรการ คือจะเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายงานธุรการ
ติดตามและวางแผนการปฎิบัติงาน จัดระบบงาน
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน
หลักในการจัดกิจกรรม ต้องให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเสมอภาค ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา
ต้องปลูกฝังความคิด
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จักจัดหา
รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น